วันนี้ (12 ต.ค.) ที่ สำนักงานกรมสรรพสามิตภาคที่ 3
เขตเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม อ.เมือง นครราชสีมา นางกรรณลิกา เชยพุดซา อายุ
38 ปี แกนนำเครือข่ายผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชนตำบลพุดซา อ.เมือง
นครราชสีมา พร้อมผู้ประกอบการ ฯ และตัวแทนคนงานโรงงานผลิตสุรา จำนวนกว่า
150 คน รวมตัวกันประท้วง กรณีเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตในพื้นที่
ไม่จำหน่ายอากรแสตมป์ให้แก่ผู้ประกอบการ
โดยอ้างว่าต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพน้ำสุราจากเจ้าหน้าที่เสียก่อน
ตามนโยบายของผู้อำนวยการสรรพสามิตภาคที่ 3
ส่งผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมได้รับความเดือดร้อน ทำให้ผลิตภัณฑ์สุรา
ที่ผลิตในวันนี้ จำนวนกว่า 1 แสนขวด
ไม่สามารถนำส่งจำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
โดยกลุ่มผู้ชุมนุม รวมกลุ่มกันยืนถือป้ายข้อความ โจมตีกรมสรรพสามิต นอกจากนี้มีบรรดาแนวร่วมเครือข่าย ฯ ส่วนหนึ่งพยายามปีนป่ายข้ามรั้วประตูเหล็กบริเวณทางเข้าด้านหน้า เนื่องจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสำนักงาน ฯ ได้ปิดไว้ ตลอดเวลา ต่อมานางนันทรา อินเงิน ผู้อำนวยการ สนง.กรมสรรพสามิตภาคที่ ได้เชิญตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม จำนวน 10 คน เข้าประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหา
ด้าน นางกรรณลิกา เชยพุดซา แกนนำเครือข่ายผู้ประกอบการ ฯ เปิดเผยหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม ว่า แรกเริ่มรัฐบาลได้มีนโยบายให้เปิดเสรีสุราชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้ ปัจจุบัน ในพื้นที่ตำบลพุดซา อ.เมือง นครราชสีมา มีผู้ประกอบการผลิตสุราขาว 40 ดีกรี จำนวน 50 ราย แต่ละรายมีการจ้างแรงงานไม่ต่ำกว่า 10 คน ดำเนินกิจการมานานกว่า 10 ปี กำลังผลิตเฉลี่ยวันละ 1 แสนขวดต่อวัน ที่ผ่านมามีการสุ่มตรวจคุณภาพจากกรมสรรพสามิตมาโดยตลอด จนกระทั่งวันนี้บรรดาผู้ประกอบการ ไม่สามารถซื้ออากรแสตมป์ได้ตามปกติ โดยเจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงว่า ต้องผ่านการตรวจมาตรฐานเครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำสุราของกรม ทั้งที่ได้มีการผลิตสุรามาก่อนหน้าแล้ว และ ก่อนหน้าก็มีการสุ่มตรวจอยู่เป็นระยะ จึงทำให้ไม่สามารถนำสุราออกจำหน่ายได้ และเกิดความเดือดร้อนขึ้นจะรวมตัวประท้วงดังกล่าว
ด้านนางนันทา อินเงิน ผอ.สนง.สรรพสามิตภาคที่ 3 กล่าวชี้แจงว่า สาเหตุเกิดจาก เมื่อวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมมอบนโยบายการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจเป็นการเข้าใจในการรับมอบนโยบายเกี่ยวกับเรื่องเงื่อนไขการจัด จำหน่ายอากรแสตมป์ คลาดเคลื่อน ซึ่งขณะนี้ได้ชี้แจงให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันแล้ว และให้ขายอากรแสตมป์ให้ผู้ประกอบการไปก่อน
อย่างไรก็ตามจากการสำรวจโรงงานกลั่นสุรากว่า 100 แห่ง ใน จ.นครราชสีมา พบว่าในพื้นที่ ต.พุดซา อ.เมือง นครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งโรงงานกลั่นสุราชุมชนที่ใหญ่ที่สุด ยังมีโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐานคุณภาพตามที่กำหนด จำนวน 10 แห่ง ซึ่งขณะนี้ได้มีการแจ้งให้ดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามระเบียบ
ต่อจากนี้ไปจะมีการกวดขันตรวจสอบคุณภาพน้ำสุราของผู้ประกอบการ ให้ได้มาตรฐาน หากไม่ได้มาตรฐาน จะไม่มีการจำหน่ายอากรแสตมป์อย่างเด็ดขาด ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของสรรพสามิตภาคที่ 3 นั้นได้กำหนดเงื่อนไข มาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมผู้ประกอบการมีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้บริโภคด้วย มิได้จ้องแสวงหาข้อผิดพลาดจากผู้ประกอบการ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องแต่อย่างใด เบื้องต้นได้บรรเทาปัญหาโดยเปิดจำหน่ายอากรแสตมป์ให้ผู้ประกอบการตามปกติ เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมได้รับทราบข้อมูล และผลการประชุม ก็ต่างพึงพอใจ และพากันแยกย้ายเดินทางกลับด้วยความเรียบร้อย ไม่มีความรุนแรง หรือความวุ่นวายแต่อย่างใด
โดยกลุ่มผู้ชุมนุม รวมกลุ่มกันยืนถือป้ายข้อความ โจมตีกรมสรรพสามิต นอกจากนี้มีบรรดาแนวร่วมเครือข่าย ฯ ส่วนหนึ่งพยายามปีนป่ายข้ามรั้วประตูเหล็กบริเวณทางเข้าด้านหน้า เนื่องจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสำนักงาน ฯ ได้ปิดไว้ ตลอดเวลา ต่อมานางนันทรา อินเงิน ผู้อำนวยการ สนง.กรมสรรพสามิตภาคที่ ได้เชิญตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม จำนวน 10 คน เข้าประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหา
ด้าน นางกรรณลิกา เชยพุดซา แกนนำเครือข่ายผู้ประกอบการ ฯ เปิดเผยหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม ว่า แรกเริ่มรัฐบาลได้มีนโยบายให้เปิดเสรีสุราชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้ ปัจจุบัน ในพื้นที่ตำบลพุดซา อ.เมือง นครราชสีมา มีผู้ประกอบการผลิตสุราขาว 40 ดีกรี จำนวน 50 ราย แต่ละรายมีการจ้างแรงงานไม่ต่ำกว่า 10 คน ดำเนินกิจการมานานกว่า 10 ปี กำลังผลิตเฉลี่ยวันละ 1 แสนขวดต่อวัน ที่ผ่านมามีการสุ่มตรวจคุณภาพจากกรมสรรพสามิตมาโดยตลอด จนกระทั่งวันนี้บรรดาผู้ประกอบการ ไม่สามารถซื้ออากรแสตมป์ได้ตามปกติ โดยเจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงว่า ต้องผ่านการตรวจมาตรฐานเครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำสุราของกรม ทั้งที่ได้มีการผลิตสุรามาก่อนหน้าแล้ว และ ก่อนหน้าก็มีการสุ่มตรวจอยู่เป็นระยะ จึงทำให้ไม่สามารถนำสุราออกจำหน่ายได้ และเกิดความเดือดร้อนขึ้นจะรวมตัวประท้วงดังกล่าว
ด้านนางนันทา อินเงิน ผอ.สนง.สรรพสามิตภาคที่ 3 กล่าวชี้แจงว่า สาเหตุเกิดจาก เมื่อวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมมอบนโยบายการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจเป็นการเข้าใจในการรับมอบนโยบายเกี่ยวกับเรื่องเงื่อนไขการจัด จำหน่ายอากรแสตมป์ คลาดเคลื่อน ซึ่งขณะนี้ได้ชี้แจงให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันแล้ว และให้ขายอากรแสตมป์ให้ผู้ประกอบการไปก่อน
อย่างไรก็ตามจากการสำรวจโรงงานกลั่นสุรากว่า 100 แห่ง ใน จ.นครราชสีมา พบว่าในพื้นที่ ต.พุดซา อ.เมือง นครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งโรงงานกลั่นสุราชุมชนที่ใหญ่ที่สุด ยังมีโรงงานที่ไม่ได้มาตรฐานคุณภาพตามที่กำหนด จำนวน 10 แห่ง ซึ่งขณะนี้ได้มีการแจ้งให้ดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามระเบียบ
ต่อจากนี้ไปจะมีการกวดขันตรวจสอบคุณภาพน้ำสุราของผู้ประกอบการ ให้ได้มาตรฐาน หากไม่ได้มาตรฐาน จะไม่มีการจำหน่ายอากรแสตมป์อย่างเด็ดขาด ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของสรรพสามิตภาคที่ 3 นั้นได้กำหนดเงื่อนไข มาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมผู้ประกอบการมีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้บริโภคด้วย มิได้จ้องแสวงหาข้อผิดพลาดจากผู้ประกอบการ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องแต่อย่างใด เบื้องต้นได้บรรเทาปัญหาโดยเปิดจำหน่ายอากรแสตมป์ให้ผู้ประกอบการตามปกติ เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมได้รับทราบข้อมูล และผลการประชุม ก็ต่างพึงพอใจ และพากันแยกย้ายเดินทางกลับด้วยความเรียบร้อย ไม่มีความรุนแรง หรือความวุ่นวายแต่อย่างใด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น