ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ
www.becomz.com

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Microsoft Excel Tips and Tricks: เทคนิคการทำ Validation แบบสัมพันธ์กัน

การทำ Validation ให้มีความสัมพันธ์กันหมายถึงเมื่อเลือกข้อมูลจาก Validation ข้อมูลหลักมาแล้ว ใน Validation ถัดมาจะโชว์เฉพาะข้อมูลย่อยของข้อมูลหลักเท่านั้น เพราะหากแสดงข้อมูลออกมาทั้งหมดแล้ว ข้อมูลหลักกับข้อมูลย่อยอาจจะไม่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ยังทำให้เสียเวลาในการเลือกข้อมูลกรณีมีข้อมูลจำนวนมาก
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเลือกข้อมูลหลักเป็น ขนม ข้อมูลย่อยที่อยู่ภายใต้ข้อมูลหลักคือ ฮานามิ, คอนเน่ และโตโร่ และหากเลือกข้อมูลหลักเป็น เครื่องดื่ม ข้อมูลย่อยที่อยู่ภายใต้ข้อมูลหลักคือ เปปซี่, โค้ก และแฟนต้า

ภาพประกอบการทำ Validation แบบสัมพันธ์กัน

CorrespondingValidation
จากภาพประกอบด้านบนมีวิธีการทำดังนี้
  1. ให้ชื่อกับข้อมูลหลักเป็น Group โดยที่ช่อง Refers to: คีย์
    =OFFSET(Sheet1!$A$2,0,0,COUNTA(Sheet1!$A$2:$A$65536))
  2. ให้ชื่อกับข้อมูลย่อยเป็น Sub_Group โดยที่ช่อง Refers to: คีย์
    =OFFSET(Sheet1!$D$2,MATCH(Sheet1!$F2,Sheet1!$C$2:$C$7,0)-1,0,COUNTIF(Sheet1!$C$2:$C$7,Sheet1!$F2))
  3. นำชื่อข้อมูลหลักและข้อมูลย่อยมาใช้ใน Validation การเลือกชื่อเซลล์มาใช้สามารถกดแป้น F3 แล้วเลือกชื่อที่ต้องการ
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Disqus Shortname

Comments system

ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 095-954-4524

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Blog Archive

Post Top Ad

คลังบทความของบล็อก

Author Details

Menu - Pages

Business

Random Posts

Recent

Popular

Blog Archive