ที่ห้องพิจารณา 808 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 31 ต.ค.นี้ ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีดำ อ.2274/ 53 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ฟ้องนาย ประสงค์ มณีอินทร์ และ นายโกวิทย์ แย้มประเสริฐ อาชีพรับเหมาก่อสร้าง และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นจำเลยที่ 1-2 ฐาน ฝ่าฝืนประกาศข้อกำหนด ห้ามมิให้มีการชุมนุมฯ และการใช้เส้นทางคมนาคม, ร่วมกันมีวัตถุระเบิดฯ, ร่วมกันมีเครื่องวิทยุคมนาคมฯ, ร่วมกันพาอาวุธไปในเมืองฯ, ร่วมกันลักทรัพย์ฯ
โจทก์ฟ้อง สรุปว่า เมื่อวันที่ 17 พ.ค.53 จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปและมั่วสุมขณะที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยจำเลยที่ 1 ขับรถกระบะโตโยต้า ไมตี้เอ็กซ์ ทะเบียน ปว 2816 กรุงเทพมหานคร มีจำเลยที่ 2 นั่งร่วมด้วยพร้อมวัตถุระเบิดและวิทยุคมนาคมไปตามเส้นทางที่ประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉิน และงัดประตูร้านสะดวกซื้อแล้วลักทรัพย์ 60 รายการ เป็นเงิน 38,251 บาท เหตุเกิดที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน, แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กทม.
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ฐานฝ่าฝืนประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จำคุกคนละ 8 เดือน ฐานร่วมกันลักทรัพย์ จำคุกคนละ 5 ปี ฐานมีวัตถุระเบิด จำคุกคนละ 6 ปี ฐานมีวิทยุสื่อสารปรับ 6,000 บาท และพาอาวุธไปในที่สาธารณะ ปรับ 100 บาท รวมจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 11 ปี 8 เดือน ปรับคนละ 6,100 บาท ริบของกลาง จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ทหารปะทะกับคนเสื้อแดงในการชุมนุมทำให้เป็นปฏิปักษ์กับจำเลยมานั้น ฝ่ายจำเลยไม่มีพยานนำสืบให้เห็นว่า ทหารที่จับกุมเป็นผู้เข้าร่วมทำร้ายคนเสื้อแดง ส่วนวิทยุสื่อสาร ที่จำเลยอ้างว่าเป็นอาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน(อปพร.) ก็ไม่นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าจำเลยพกพาวิทยุสื่อสารและร่วมกันพกพาอาวุธและวัตถุระเบิด ส่วนประเด็นที่ ห้ามใช้เส้นทางตามที่กำหนด แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองขับรถยนต์ออกจากที่ชุมนุมเพื่อเดิน ทางกลับบ้านจึงไม่มีความผิด
ส่วนข้อหาลักทรัพย์นั้นฝ่ายโจทก์มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเบิกความว่า จากการจับกุมได้ตรวจค้นพบเครื่องอุปโภค บริโภคเช่น เหล้า บุหรี่ บัตรเติมเงินฯลฯ เห็นว่า ประเด็นนี้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่า จำเลยเข้าไปลักทรัพย์ พยานหลักฐานจึงไม่เพียงพอที่จะลงโทษฐานลักทรัพย์แต่ฟังได้ว่าจำเลยมีความผิด ฐานรับของโจร
ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาแก้ให้จำคุกจำเลยเหลือคนละ 9 ปี 4 เดือน ปรับ คนละ 6,100 บาท .
โจทก์ฟ้อง สรุปว่า เมื่อวันที่ 17 พ.ค.53 จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปและมั่วสุมขณะที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยจำเลยที่ 1 ขับรถกระบะโตโยต้า ไมตี้เอ็กซ์ ทะเบียน ปว 2816 กรุงเทพมหานคร มีจำเลยที่ 2 นั่งร่วมด้วยพร้อมวัตถุระเบิดและวิทยุคมนาคมไปตามเส้นทางที่ประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉิน และงัดประตูร้านสะดวกซื้อแล้วลักทรัพย์ 60 รายการ เป็นเงิน 38,251 บาท เหตุเกิดที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน, แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กทม.
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ฐานฝ่าฝืนประกาศ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จำคุกคนละ 8 เดือน ฐานร่วมกันลักทรัพย์ จำคุกคนละ 5 ปี ฐานมีวัตถุระเบิด จำคุกคนละ 6 ปี ฐานมีวิทยุสื่อสารปรับ 6,000 บาท และพาอาวุธไปในที่สาธารณะ ปรับ 100 บาท รวมจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 11 ปี 8 เดือน ปรับคนละ 6,100 บาท ริบของกลาง จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ทหารปะทะกับคนเสื้อแดงในการชุมนุมทำให้เป็นปฏิปักษ์กับจำเลยมานั้น ฝ่ายจำเลยไม่มีพยานนำสืบให้เห็นว่า ทหารที่จับกุมเป็นผู้เข้าร่วมทำร้ายคนเสื้อแดง ส่วนวิทยุสื่อสาร ที่จำเลยอ้างว่าเป็นอาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน(อปพร.) ก็ไม่นำสืบหักล้าง จึงฟังได้ว่าจำเลยพกพาวิทยุสื่อสารและร่วมกันพกพาอาวุธและวัตถุระเบิด ส่วนประเด็นที่ ห้ามใช้เส้นทางตามที่กำหนด แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองขับรถยนต์ออกจากที่ชุมนุมเพื่อเดิน ทางกลับบ้านจึงไม่มีความผิด
ส่วนข้อหาลักทรัพย์นั้นฝ่ายโจทก์มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเบิกความว่า จากการจับกุมได้ตรวจค้นพบเครื่องอุปโภค บริโภคเช่น เหล้า บุหรี่ บัตรเติมเงินฯลฯ เห็นว่า ประเด็นนี้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่า จำเลยเข้าไปลักทรัพย์ พยานหลักฐานจึงไม่เพียงพอที่จะลงโทษฐานลักทรัพย์แต่ฟังได้ว่าจำเลยมีความผิด ฐานรับของโจร
ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาแก้ให้จำคุกจำเลยเหลือคนละ 9 ปี 4 เดือน ปรับ คนละ 6,100 บาท .
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น