การที่คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้
- คอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 2 เครื่อง
- เน็ตเวิร์ดการ์ด หรือ NIC ( Network Interface Card) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องที่ เมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
- สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล เช่น สายสัญญาณ ส่วนสายสัญญาณที่นิยมที่ใช้กันในเครือข่ายก็เช่น สายโคแอ็กเชียล สายคู่เกลียวบิด และสายใยแก้วนำแสง เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น
- โปรโตคอล ( Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้ติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นที่ต้องใช้ “ภาษา” หรือใช้โปรโตคอลเดียวกันเช่น OSI, TCP/IP, IPX/SPX เป็นต้น
- ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System)ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวคอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน
1 เน็ตเวิร์คการ์ด
เน็ตเวิร์คการ์ดจะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่าย ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “NIC (Network Interface Card)”หรือบางทีก็เรียกว่า “LAN การ์ด (LAN Card)” อุปกรณ์เหล่านี้จะทำการแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้ ปัจจุบันนี้ก็ได้มีการแบ่งการ์ดออกเป็นหลายประเภท ซึ่งจะถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้กับเครือข่ายประเภทแบบต่าง ๆ เช่น อีเธอร์เน็ตการ์ด โทเคนริงการ์ด เป็นต้น การ์ดในแต่ละประเภทอาจใช้กับสายสัญญาณบางชนิดเท่านั้น หรืออาจจะใช้ได้กับสายสัญญาณหลายชนิด
เน็ตเวิร์คการ์ด
เน็ตเวิร์คการ์ดจะติดตั้งอยู่กับคอมพิวเตอร์ โดยเต้าเสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ส่วนมากคอมพิวเตอร์ที่ผลิตในปัจจุบันจะมีเฉพาะช่อง PCI ซึ่งก็ใช้บัสที่มีขนาด 32 บิต อย่างไรก็ตาม ยังมีคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ยังมีช่องแบบ ISA อยู่ ซึ่งมีบัสขนาด 16บิต และมีการ์ดที่เป็นแบบ ISA จะประมวลผล ข้อมูลช้ากว่าแบบ PCI
2 สายสัญญาณ
ปัจจุบันมีสายสัญญาณที่ใช้เป็นมาตรฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อยู่3 ประเภท
2.1 สายคู่บิดเกลียว สายคู่บิดเกลียว ( twisted pair ) ในแต่ละคู่ของสายทองแดงซึ่งจะถูกพันกันตามมาตรฐาน เพื่อต้องการลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับคู่สายข้างเคียงได้แล้วผ่านไปยังสายเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอกเท่านั้น เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนั้นมีราคาไม่แพงมากใช้ส่งข้อมูลได้ดี แล้วน้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง จึงทำให้ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตัวอย่างคือสายโทรศัพท์สายแบบนี้มี 2 ชนิดคือ
ก. สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูป เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน
ข. สายคู่เกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกด้วยซึ่งบางทีก็หุ้มอีกชั้นดังรูป ซึ่งทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่ก็สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน
2.2 สายโคแอกเชียล สายโคแอกเชียล เป็นตัวกลางการเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวีที่มีการใช้งานกันอยู่เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะใช้ในระบบเครือข่ายเฉพาะที่ และใช้ในการส่งข้อมูลระยะที่ไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดีทัศน์ ซึ่งสายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปก็มีอยู่ 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทอล และชนิด 75โอห์ม ซึ่งก็จะใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอนาล็อก สายโคแอกเชียลมีฉนวนหุ้มเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า และก็เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนอื่น ๆ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถส่งผ่านได้กว้างถึง 500 Mhz จึงสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราของการส่งสูงขึ้น
สายโคแอกเชียล
2.3 เส้นใยแก้วนำแสง เส้นใยนำแสง ( fiber optic ) เป็นการที่ใช้ให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยเป็นอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก ที่ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเธอร์เน็ตก็ใช้ได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิต ถ้าใช้กับ FDDI ก็จะใช้ได้ด้วยความเร็วสูงถึง100 เมกะบิต
ลักษณะของเส้นใยนำแสง
3 อุปกรณ์เครือข่าย
อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในเครือข่ายทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับ- ส่งข้อมูลในเครือข่าย หรือใช้สำหรับทวนสัญญาณเพื่อให้การรับ-ส่งข้อมูลได้ดี และส่งในระยะที่ไกลมากขึ้น หรือใช้สำหรับขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น อุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ฮับ สวิตซ์ เราท์เตอร์
3.1 ฮับ (Hub)
ฮับ (HUB) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมกันระหว่างกลุ่มของคอมพิวเตอร์ ฮับมีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง เพื่อส่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย
ฮับ (HUB)
3.2 สวิตซ์ (Switch)
สวิตซ์ (Switch) หรือ บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อ LAN สองเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็น LAN ชนิดเดียวกัน และก็ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน เช่น ใช้ในการเชื่อมต่อ Ethernet LAN ทั้งสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน
สวิตซ์ (Switch) หรือ บริดจ์ (Bridge)
3.3 เราท์เตอร์ ( Routing )
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายกับหลายระบบเข้าด้วยกันที่คล้ายกับบริดจ์ แต่ก็มีส่วนการทำงานจะซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราท์เตอร์ก็มีเส้นทางการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง และเลือกเส้นทางเหมาะสมที่สุดเพื่อใช้ในการเดินทาง และเพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เราท์เตอร์ ( Routing )
3.4 โปรโตคอล (Protocol)
ในการเชื่อมโยงของเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ ในแต่ละเครื่องอาจก็ต้องมีระบบที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกัน เช่นในการใช้งานในเครือข่ายจึงต้องเป็นมาตรฐานหรือระเบียบที่ใช้ในการติดต่อให้แต่ละเครื่องมีวิธีการสื่อสารที่เป็นไปตามแนวทางเดียวกันได้ เพื่อให้เป็นการเชื่อมโยงข้อมูล และในการติดต่อสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครื่องต้องมีความเข้าใจถูกต้องตรงกันและสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ไม่เกิดความเสียหายนั้นเกิดขึ้น จึงมีการกำหนดวิธีการมาตรฐานขึ้นเรียกว่า โปรโตคอล ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าโปรโตคอล หมายถึง กฎเกณฑ์ ข้อตกลง ภาษาสื่อสาร รูปแบบ วิธีการเชื่อมต่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย (ระบบใดๆ ก็ตาม)ให้สามารถติดต่อสื่อสารมีการใช้งานร่วมกันได้หลากหลาย
ส่วนประกอบของเครือข่าย ( Network Component )
ในชีวิตประจำวันของเรานั้นเกี่ยวข้องกับเครือข่ายตลอดเวลา เพระทุกการติดต่อสื่อสารนั้นต้องผ่านระบบเครือข่ายมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ SMS ATM วิทยุ โทรทัศน์ ล้วนเป็นระบบเครือข่ายทั้งสิ้น โดยที่ Internet เป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในที่นี้จะกล่าวถึงส่วนประกอบของระบบเครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วย· เครื่องบริการข้อมูล (Server)· เครื่องลูกข่ายหรือสถานี (Client)· การ์ดเครือข่าย (Network Interface Cards)· สายเคเบิลที่ใช้บนเครือข่าย (Network Cables)· ฮับหรือสวิตช์ (Hubs and Switches)· ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System)
เครื่องศูนย์บริการข้อมูลโดยมักเรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการทรัพยากรให้กับเครื่องลูกข่าย เช่น การบริการไฟล์ การบริการงานพิมพ์ เป็นต้น เนื่องจากเครื่องเซฟเวอร์มักต้องรับภารกิจหนักในระบบจึงมักใช้เครื่องที่มีขีดความสามารถมาเป็นเครื่องแม่ข่าย
เครื่องลูกข่ายหรือสถานีเครือข่ายเครื่องลูกข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่งอาจเรียกว่า เวิร์กสเตชัน ก็ได้ โดยมักเป็นเครื่องของผู้ใช้งานทั่วไปสำหรับติดต่อเพื่อขอใช้บริการจากเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งสามารถจะขอหรือนำ software ทั้งข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายมาประมวลผลใช้งานได้และยังติดต่อสื่อสาร รับ-ส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในเครือข่ายได้
การ์ดเครือข่ายแผงวงจรสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะต้องมีอุปกรณ์นี้ และหน้าทีของการ์ดก็คือ แปลงสัญญาณของคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้
สายเคเบิลที่ใช้บนเครือข่ายเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีสายเคเบิลเพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ให้อยู่บนเครือข่ายเดียวกันเพื่อสื่อสารกันได้ นอกจากนี้เครือข่ายยังสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยไม่ใช้สายก็ได้ เรียกว่า เครือข่ายไร้สายโดยสามารถใช้คลื่นวิทยุหรืออินฟาเรด เป็นตัวกลางในการปลงสัญญาณ อีกทั้งยังสามารถนำเครือข่ายแบบมีสายและเครือข่ายแบบไร้สายมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันได้
ฮับและสวิตช์ เป็นอุปกรณ์ฮับและสวิตช์มักนำไปใช้เป็นศูนย์กลางของสายเคเบิลที่เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งฮับหรือสวิตช์จะมีพอร์ตเพื่อให้สายเคเบิลเชื่อมต่อเข้าระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์ โดยจำนวนพอร์ตจะขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด เช่น แบบ 4 , 8, 16 , 24 พอร์ต ยังสามารถนำฮับหรือสวิตช์หลายๆตัว มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อขยายเครือข่ายได้อีกด้วย
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายเครื่องแม่ข่ายของระบบจำเป็นต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการเครือข่ายไว้ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมและรองรับการทำงานของเครือข่ายไว้ เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องพึ่ง Software ที่มีประสิทธิภาพตามด้วยเช่นกัน
รูปแบบของเครือข่าย
แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่1. เครือข่ายแบบ Client/Server2. เครือข่ายแบบ Peer To Peer
เครือข่ายแบบ Client/Server
เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ไว้คอยบริการข้อมูลให้กับลูกเครือข่าย โดยมีฮับหรือสวิตซ์เป็นตัวกลาง โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะถูกเชื่อมต่อกับฮับเพื่อทำหน้าที่เชื่อมต่อระห่างกันและสมารถขอใช้บริการ web server , mail server , file server และ print server ได้ เครือข่ายประเภทนี้อาจมีเซฟเวอร์ตัวหนึ่งทำหน้าที่หลายๆหน้าที่บนเครื่องเดียวหรืออาจทำหน้าที่เฉพาะก็ได้web server : บริการ HTTP เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลทางภาพและเสียงผ่าน web browser เช่น google เป็นต้นmail server : เครือบริการรับส่งจดหมายสำหรับสมาชิก บริการที่มีให้ใช้ เช่น ส่งจดหมาย รับจดหมาน หรือการมือ addressbook ตัวอย่างmail server ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ hotmaik หรือ Thaimail เป็นต้น file server : เซฟเวอร์ที่มีหน้าที่จัดเก็บไฟล์โยการจัดเก็บไฟล์นั้นเสมือนเป็นฮาร์ดดิสศูนย์รวม เสมือนว่าผู้ใช้งานทุกคนมีที่เก็บข้อมูลที่เดียว สามรถดูแลรักษาข้อมูลได้ง่ายและป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล ข้อมูลดังกล่าวสมารถแชร์ให้เครื่องอื่นได้print server : เซฟเวอร์ที่มีหน้าที่ในการจัดการแบ่งปริ้นเตอร์ในสำนักงาน จากเครื่องปริ้นเตอร์เครื่องเดียวให้ผู้อื่นสามรถสั่งปริ้นได้ หน้าที่หลักๆของปริ้นเซฟเวอร์คือ ช่วยในการแบ่งปัน จัดคิวในการใช้เครื่องปริ้นร่วมกันในองค์กรได้
ข้อดี ข้อเสียของระบบ Client/Serverข้อดี1. เครือข่ายมีเสถียรภาพสูง และสามารถเพิ่มลดได้ตามต้องกัน2. มีความปลอดภัยสูงทั้งด้านข้อมูลและการจัดการ user ข้อเสีย1. ต้องใช้ทุนในการลงทุนสูง2. ต้องพึ่งพาผู้ควบคุมที่มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญ
เครือข่าย Peer To Peer
เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนเครือข่ายมีฐานะเท่าเทียมกันโยที่ทุกเครื่องจะต่อสายเคเบิลเข้ากับฮับหรือสวิตซ์ทุกเครื่องสามารถใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้และสามารถให้เครื่องอื่นมาช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบเครือข่ายประเภทนี้มักจะใช้งานในหน่วยงานขนาดเล็กหรือใช้คอมพิวเตอร์ไม่เกิน 10 เครื่อง อาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยในระบบเนื่องจากข้อมูลที่เป็นความลับะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นด้วยเช่นกัน
ข้อดี ข้อเสียของระบบ Peer To Peer
ข้อดี1. ลงทุนต่ำ2. ไม่ต้องดูแลผู้ดูแลระบบ3. ติดตั้งง่าย ข้อเสีย1. มีขีดความสามารถจำกัด2. มีระบบความปลอดภัยต่ำ3. มีปัญหาเกี่ยวกับการขยายเครือข่าย
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
รีพีตเตอร์(Repeater) : ในระบบ Lan โดยทั่วไปนั้น ยิ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอยู่ไกลกันมากเท่าไร สัญญาณที่จะสื่อถึงกันเริ่มเพี้ยนและจะจางหายไปในที่สุดจึงต้องมีอุปกรณ์เสริมพิเศษที่เรียกว่า รีพีตเตอร์ ขึ้นมาทำหน้าที่ในการเดินสัญญาณคือช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งบนสาย Lan ให้แรงขึ้นและจัดรูปสัญญาณที่เพื้ยนให้กลับเป็นเหมือนเดิม
ฮับ(Hub) : ทำหน้าที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางที่กระจายข้อมูลช่วยให้คอมพิวเตอร์ต่างๆบนเครือข่ายสามารถสื่อสารถึงกันได้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับฮับโยสายเคเบิลแล้วส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์จากเคราองหนึ่งไปยังอีกเครือหนึ่งโยงผ่านฮับ ฮับไม่สามารถระบุแหล่งที่มาข้อมูลและปลายทางของข้อมูลที่ส่งไปได้ ดังนั้นฮับจะส่งข้อมูลไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับฮับทุกเครื่องรวมถึงเครื่องที่ส่งข้อมูลด้วย ฮับไม่สามรถรับและส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกันจึงทำให้ฮับทำงานช้ากว่าสวิตซ์ การเชื่อมต่อแบบนี้ หากเชิร์ฟเวอร์ไม่ได้เปิดใช้งานอยู่ เครื่องลูกข่ายก็ไม่สามารใช้งานบริการได้
สวิตซ์(Switch) : อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากฮับ ลักษณะทางกายภาพของเน็กเวิร์ดสวิตซ์นั้นจะเหมือนกับเน็ตเวิร์ดฮับทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่- สวิตส์จะเลือกส่งข้อมูลถึงผู้รับเท่านั้น- สวิตส์มีความร็วสูง- มีความปลอดภัยสูงกว่า- สามารถรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน
บริดจ์(Bridge) : เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่เชื่อม 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน เสมือนเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่าง 2 เครือข่ายบริดจ์มีความสามารถมากกว่าฮับและรีพีตเตอร์ กล่าวคือ สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งได้ โดยตรวจสอบว่า- ตรวจสอบความสามารถของข้อมูล- ส่งข้อมูลไปในเครื่องที่ต้องการเท่านั้น- จัดการความหนาแน่นของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เร้าเตอร์(Router) : จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถส่อสารหากันได้และสามารส่งผ่านข้อมูลระหว่าง 2 เครือข่าย เช่น เครือข่ายในบ้านกับอินเตอร์เน็ตโยที่แบบมีสายและไร้สาย นอกจากนี้เร้าเตอร์ยังมีระบบรักษาความปลอดภัย คือ ไฟล์วอร์
เกตเวย์(Gateway) : เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 ระบบมีความแตกต่างกัน คือ- มีโปรโตคลอที่ต่างกัน- มีขนาดเครือข่ายต่างกัน- มีระบบเครือข่ายต่างกน เช่นเครื่อง PC และ เครื่อง MAX ทำให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างกันได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น