เมื่อเวลา 08.12 น.วันนี้ (11พ.ย.) สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหว แรงสั่นสะเทือน 6.6 ริคเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศพม่า ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่าง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน 438 กม. อาคารสูงในกรุงเทพมหานคร สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ ประชาชนที่พักอาศัยบนตึกสูงส่วนใหญ่ต่างแตกตื่น วิ่งหนีลงมาจากตึกกันอลหม่าน เบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหาย และยังมีรายงานอาฟเตอร์ช๊อคอีก 2 ครั้ง ในช่วง 20 นาที แรงสั่นสะเทือน 5.0 ริคเตอร์ทั้ง 2 ครั้ง
ขณะเดียวกัน สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง วัดได้ 6.6 ริคเตอร์ เขย่าพื้นที่ภาคเหนือของพม่า เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ โดยแรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ชัดถึงกรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทย โดยสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ แจ้งว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 07.42 น.ตามเวลาท้องถิ่น (08.12 น. ตามเวลาในประเทศไทย) จุดศูนย์กลางอยู่ใต้ดินค่อนข้างตื้นเพียงแค่ 9 กม. อยู่ห่างจากใจกลางเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่สุดอันดับ 2 ของพม่า ไปทางทิศเหนือราว 116 กม. ในเบื้องต้นสำนักงานสำรวจฯ ตรวจวัดค่าแรงสั่นสะเทือนได้ที่ 7.0 ริคเตอร์ ก่อนจะปรับลงเป็น 6.6 ริคเตอร์ในเวลาต่อมา ซึ่งคาดว่าความรุนแรงและความตื้นของจุดศูนย์กลางในระดับนี้น่าจะสร้างความเสียหายในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะหากเกิดในพื้นที่ที่เป็นเขตที่อยู่อาศัยของประชาชน
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ยังได้รายงานเหตุแผ่นดินไหว 4.7 ริคเตอร์ เมื่อ 05.01 น. ของวันนี้ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ SICHUAN-CHONGQING BDR REG, CHINA ละติจูด 29° 18' 00'' เหนือ ลองจิจูด 105° 21' 36'' ตะวันออก ความลึกจากระดับผิวดิน 10 กิโลเมตร และเวลา 02.59 น. เกิดแผ่นดินไหว 4.8 ริคเตอร์ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ TAIWAN REGION ละติจูด 22° 03' 00'' เหนือ ลองจิจูด 121° 34' 12'' ตะวันออก ความลึกจากระดับผิวดิน 12 กิโลเมตร
เวลาประมาณ 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หน้าอาคาร ทรู ทาวเวอร์ ถ.รัชดาภิเษก แขวงและเขตห้วยขวาง กทม. มีกลุ่มพนักงานลงมายื่นออกันที่ประตูทางเข้าด้านนอกอาคารดังกล่าวกว่า 30 คน เนื่องจากเมื่อเวลา 08.40 น. บรรดาพนักงานรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนของตึกได้
จากการสอบถาม นายสามารถ สุวธรรมานนท์ พนักงานที่ทำงานในตึกดังกล่าว เล่าว่า ตนและเพื่อน ๆ ทำงานอยู่บนตึกดังกล่าวชั้นที่ 22 และเมื่อ 20 นาทีที่แล้ว ตนสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนของตึกได้นานกว่า 5 นาที โดยในห้องทำงานของตนนั้นสามารถสังเกตได้ว่าผ้าม่าน โคมไฟสั่นสะเทือน ส่วนบางคนก็บอกว่าได้ยินเสียงกระจกสั่นจนเกิดเสียง อย่างไรก็ตามจากการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวในครั้งนี้ตนคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดตั้งแต่ประเทศไทยเคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นมา
ผู้อยู่อาศัยอาคารสูงแห่งหนึ่งบนถนนเอกมัย เล่าวอย่างระทึกว่า ตนพักอยู่บนชั้น 20 รับรู้ความสั่นสะเทือนได้เมื่อเวลา 08.30 น. นานกว่า 30 วินาที รู้สึกได้เลยว่าอาคารโยกไปมามีเสียงเอี้ยดอ้าด แต่ก็ไม่ได้ตกใจมากนัก เพราะเคยเจอกับเหตุการณ์แผ่นดินอย่างนี้มาแล้วเมื่อ 2 ปีก่อน โดยแผ่นดินไหวที่พม่ารับรู้ได้ในกรุงเทพฯ ในตอนนั้นประชาชนบนอาคารหลายแห่งในถนนสุขุมวิทและเอกมัยรู้สึกได้เลย และมีบางอาคารมีรอยร้าว ส่วนคนที่ไม่เคยเจอเหตุการณ์นี้จำนวนมากตื่นตระหนก นอกจากรีบวิ่งลงจากอาคารแล้ว ยังโทรศัพท์สอบถามเพื่อน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมอุตุนิยมวิทยา จนสายแทบไหม้ เจ้าหน้าที่ต้องคอยอธิบาย ชี้แจงรวมถึงปลอบโยนเพื่อลดความตื่นตระหนกดังกล่าว
นายเพิ่มวิทยา กันทะทรง รักษาการหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า จ.แม่ฮ่องสอน ในพื้นที่ อ.ปาย และปางมะผ้า รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ แต่จากการสำรวจในทุกพื้นที่แล้วไม่มีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นกับโบราณสถานหรือบ้านเรือนประชาชน ที่จ.เชียงใหม่ ประชาชนในหลายพื้นที่รับรู้ความสั่นไหวได้ โดยเฉพาะในอ.เมือง ซึ่งมีอาคารสูงจำนวนมาก หลายคนรีบวิ่งหนีลงจากอาคารมาด้านล่าง
นายธนะรัชต์ ภูมิมะกสิกร ผอ.เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า หลังเกิดเหตุได้ตรวจสอบเครื่องมือที่ติดตั้งรับความสั่นไหวไว้ในเขื่อน 3 จุด ไม่พบความผิดปกติ แรงสั่นไหวไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเขื่อน เพราะเขื่อนได้ออกแบบก่อสร้างให้รับแรงสั่นสะเทือนได้มากกว่านี้ ประชาชนที่อยู่ใต้เขื่อนไม่ต้องตกใจกลัวว่าเขื่อนจะแตก อย่างไรก็ตามได้ให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบเครื่องมือเพื่อดูความผิดปกติอย่างใกล้ชิด
นายบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากตัวเขื่อนวชิราลงกรณ ประมาณ 957 กม. อยู่ห่างจากเขื่อนศรีนครินทร์ 1,016 กม. เป็นแผ่นดินไหวขนาด ตนและ นายวนิช แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการเขื่อนวชิราลงกรณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ติดตั้งในเขื่อน พบว่าไม่มีแรงกระทำมาถึงตัวเขื่อน จึงขอให้วางใจว่า ทั้ง 2 เขื่อน ไม่ได้รับผลกระทบ
นายบุญอินทร์ กล่าวด้วยว่า เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณมีความมั่นคงแข็งแรงพร้อมรองรับในทุกสถานการณ์ อีกทั้งยังมีมาตรการในการดูแลบำรุงรักษา การตรวจสอบ และการประเมินความมั่นคงปลอดภัยของตัวเขื่อนอย่างสม่ำเสมอ ตามหลักวิชาการ และตามมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นใจ นอกจากนี้ เขื่อนวชิราลงกรณเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยการตรวจสอบเขื่อน จะดำเนินการโดย คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยของเขื่อน ซึ่งตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยของเขื่อนโดยกำหนดให้เขื่อนที่สร้างแล้วเสร็จ มีอายุใช้งานไม่เกิน 2 ปี ต้องตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง ส่วนเขื่อนที่มีอายุใช้งานระหว่าง 2 ถึง 5 ปี ตรวจสอบปีละครั้งและเขื่อนที่มีอายุใช้งานกว่า 5 ปี ตรวจสอบทุกๆ 2 ปี โดยการตรวจสอบเขื่อนวชิราลงกรณได้ตรวจสอบใหญ่ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2553 สำหรับเขื่อนศรีนครินทร์ตรวจสอบครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2554
นายบุรินทร์ เวชบันเทิง ผอ.สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า หลังเกิดเหตุได้ตรวจสอบเครื่องมือวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นพบว่า หลังแผ่นดินไหวแล้วมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาหลังจากนั้น 10 นาที 1 ครั้งขนาด 5 ริคเตอร์ อย่างไรก็ตามแผ่นดินไหวแรงขนาดนี้คาดว่าน่าจะมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกนับ 100 ครั้ง ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่แต่ไม่เกินครั้งแรกคือ 6.6 ริคเตอร์ จึงได้ให้จังหวัดต่างๆที่อยู่ในแนวใกล้เคียงแผ่นดินไหวเฝ้าระวังตลอด 24 ชม. เนื่องจากล่าสุดได้รับรายงานว่า จ.แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ อุตรดิตถ์รวมถึงในกรุงเทพฯ ประชาชนในอาคารสูงรับรู้ความสั่นไหวได้ชัดเจนมาก ถึงขนาดตึกโยก และบางจุด เช่น ในถนนวิภาวดีรังสิต สุขุมวิท เอกมัย ทองหล่อ อุปกรณ์ในอาคาร เช่น โคมไฟ ร่วงหล่นตกแตก เหตุที่อาคารในกรุงเทพฯ สั่นไหวมากกว่าทางภาคเหนือซึ่งใกล้กับพม่ามากกว่า เพราะอาคารในกรุงเทพฯ อยู่บนดินอ่อน และมีคาบอยู่ในแนวเปลือกโลกร่องเดียวกับพม่า เมื่อเกิดความสั่นไหว จึงสั่นสะเทือนรุนแรงมากกว่าหลายเท่า ประกอบกับมีอาคารสูงมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกจนเกินไป แม้ขณะนี้จะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทั้งในและนอกประเทศติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจริงๆ แล้วเกิดแผ่นดินไหวทุกวัน แต่ที่มีรายงานออกมาก็เฉพาะจุดที่เกิดผลกระทบและรับรู้ความสั่นไหวได้
นายบุรินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทย คนไทยต้องทำใจให้อยู่กับแผ่นดินไหวให้ได้ เพราะในไทยมีรอยเลื่อนที่ทรงพลังถึง 14 จุด และมีรอยแขนงอีกนับพันจุดทั่วประเทศ จึงต้องเกิดแผ่นดินไหว แต่จากสถิติแผ่นดินไหวในไทยไม่เกิน 6.6 ริคเตอร์ เพราะเราไม่ได้อยู่ในจุดเสี่ยงวิกฤติเหมือนญี่ปุ่น อินโดนีเซียและกัวเตมาลา ที่อยู่ในแนววงแหวนไฟ ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ ยกเว้น แถวทะเลอันดามันและจังหวัดในภาคใต้ที่อยู่ในแนววงแหวนไฟ อาจเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในจ.ภูเก็ต
นายบุรินทร์ กล่าวอีกว่า เมื่อปี 2540 ได้มีการแก้ไขกฎหมายให้อาคารขนาดใหญ่ก่อสร้างเพื่อรับแรงสั่นไหวได้มากขึ้นใน 7 จังหวัด เช่น จ.เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ต่อมาในปี 2550 ได้เพิ่มกรุงเทพฯ และอีก 7 จังหวัดในภาคใต้ให้เพิ่มความระมัดระวังเรื่องแผ่นดินไหว ส่วนอาคารที่สร้างก่อนหน้านี้ได้ขอความร่วมมือเจ้าของอาคารเพิ่มมาตรการเสริมสร้างความปลอดภัยจากเหตุแผ่นดินไหว ส่วนข้อปฏิบัติสำหรับประชาชนหากเกิดแผ่นดินไหว ต้องรีบออกจากอาคารทันที ห้ามใช้ลิฟต์เด็ดขาด หาที่โล่ง ไม่อยู่ใต้สิ่งกำบัง เพื่อป้องกันการกระแทกและสิ่งของร่วงหล่นตกใส่.
ขณะเดียวกัน สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง วัดได้ 6.6 ริคเตอร์ เขย่าพื้นที่ภาคเหนือของพม่า เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ โดยแรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ชัดถึงกรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทย โดยสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ แจ้งว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 07.42 น.ตามเวลาท้องถิ่น (08.12 น. ตามเวลาในประเทศไทย) จุดศูนย์กลางอยู่ใต้ดินค่อนข้างตื้นเพียงแค่ 9 กม. อยู่ห่างจากใจกลางเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่สุดอันดับ 2 ของพม่า ไปทางทิศเหนือราว 116 กม. ในเบื้องต้นสำนักงานสำรวจฯ ตรวจวัดค่าแรงสั่นสะเทือนได้ที่ 7.0 ริคเตอร์ ก่อนจะปรับลงเป็น 6.6 ริคเตอร์ในเวลาต่อมา ซึ่งคาดว่าความรุนแรงและความตื้นของจุดศูนย์กลางในระดับนี้น่าจะสร้างความเสียหายในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะหากเกิดในพื้นที่ที่เป็นเขตที่อยู่อาศัยของประชาชน
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ยังได้รายงานเหตุแผ่นดินไหว 4.7 ริคเตอร์ เมื่อ 05.01 น. ของวันนี้ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ SICHUAN-CHONGQING BDR REG, CHINA ละติจูด 29° 18' 00'' เหนือ ลองจิจูด 105° 21' 36'' ตะวันออก ความลึกจากระดับผิวดิน 10 กิโลเมตร และเวลา 02.59 น. เกิดแผ่นดินไหว 4.8 ริคเตอร์ จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ TAIWAN REGION ละติจูด 22° 03' 00'' เหนือ ลองจิจูด 121° 34' 12'' ตะวันออก ความลึกจากระดับผิวดิน 12 กิโลเมตร
เวลาประมาณ 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หน้าอาคาร ทรู ทาวเวอร์ ถ.รัชดาภิเษก แขวงและเขตห้วยขวาง กทม. มีกลุ่มพนักงานลงมายื่นออกันที่ประตูทางเข้าด้านนอกอาคารดังกล่าวกว่า 30 คน เนื่องจากเมื่อเวลา 08.40 น. บรรดาพนักงานรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนของตึกได้
จากการสอบถาม นายสามารถ สุวธรรมานนท์ พนักงานที่ทำงานในตึกดังกล่าว เล่าว่า ตนและเพื่อน ๆ ทำงานอยู่บนตึกดังกล่าวชั้นที่ 22 และเมื่อ 20 นาทีที่แล้ว ตนสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนของตึกได้นานกว่า 5 นาที โดยในห้องทำงานของตนนั้นสามารถสังเกตได้ว่าผ้าม่าน โคมไฟสั่นสะเทือน ส่วนบางคนก็บอกว่าได้ยินเสียงกระจกสั่นจนเกิดเสียง อย่างไรก็ตามจากการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวในครั้งนี้ตนคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดตั้งแต่ประเทศไทยเคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นมา
ผู้อยู่อาศัยอาคารสูงแห่งหนึ่งบนถนนเอกมัย เล่าวอย่างระทึกว่า ตนพักอยู่บนชั้น 20 รับรู้ความสั่นสะเทือนได้เมื่อเวลา 08.30 น. นานกว่า 30 วินาที รู้สึกได้เลยว่าอาคารโยกไปมามีเสียงเอี้ยดอ้าด แต่ก็ไม่ได้ตกใจมากนัก เพราะเคยเจอกับเหตุการณ์แผ่นดินอย่างนี้มาแล้วเมื่อ 2 ปีก่อน โดยแผ่นดินไหวที่พม่ารับรู้ได้ในกรุงเทพฯ ในตอนนั้นประชาชนบนอาคารหลายแห่งในถนนสุขุมวิทและเอกมัยรู้สึกได้เลย และมีบางอาคารมีรอยร้าว ส่วนคนที่ไม่เคยเจอเหตุการณ์นี้จำนวนมากตื่นตระหนก นอกจากรีบวิ่งลงจากอาคารแล้ว ยังโทรศัพท์สอบถามเพื่อน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมอุตุนิยมวิทยา จนสายแทบไหม้ เจ้าหน้าที่ต้องคอยอธิบาย ชี้แจงรวมถึงปลอบโยนเพื่อลดความตื่นตระหนกดังกล่าว
นายเพิ่มวิทยา กันทะทรง รักษาการหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า จ.แม่ฮ่องสอน ในพื้นที่ อ.ปาย และปางมะผ้า รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ แต่จากการสำรวจในทุกพื้นที่แล้วไม่มีความเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นกับโบราณสถานหรือบ้านเรือนประชาชน ที่จ.เชียงใหม่ ประชาชนในหลายพื้นที่รับรู้ความสั่นไหวได้ โดยเฉพาะในอ.เมือง ซึ่งมีอาคารสูงจำนวนมาก หลายคนรีบวิ่งหนีลงจากอาคารมาด้านล่าง
นายธนะรัชต์ ภูมิมะกสิกร ผอ.เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า หลังเกิดเหตุได้ตรวจสอบเครื่องมือที่ติดตั้งรับความสั่นไหวไว้ในเขื่อน 3 จุด ไม่พบความผิดปกติ แรงสั่นไหวไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเขื่อน เพราะเขื่อนได้ออกแบบก่อสร้างให้รับแรงสั่นสะเทือนได้มากกว่านี้ ประชาชนที่อยู่ใต้เขื่อนไม่ต้องตกใจกลัวว่าเขื่อนจะแตก อย่างไรก็ตามได้ให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบเครื่องมือเพื่อดูความผิดปกติอย่างใกล้ชิด
นายบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากตัวเขื่อนวชิราลงกรณ ประมาณ 957 กม. อยู่ห่างจากเขื่อนศรีนครินทร์ 1,016 กม. เป็นแผ่นดินไหวขนาด ตนและ นายวนิช แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการเขื่อนวชิราลงกรณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ติดตั้งในเขื่อน พบว่าไม่มีแรงกระทำมาถึงตัวเขื่อน จึงขอให้วางใจว่า ทั้ง 2 เขื่อน ไม่ได้รับผลกระทบ
นายบุญอินทร์ กล่าวด้วยว่า เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณมีความมั่นคงแข็งแรงพร้อมรองรับในทุกสถานการณ์ อีกทั้งยังมีมาตรการในการดูแลบำรุงรักษา การตรวจสอบ และการประเมินความมั่นคงปลอดภัยของตัวเขื่อนอย่างสม่ำเสมอ ตามหลักวิชาการ และตามมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นใจ นอกจากนี้ เขื่อนวชิราลงกรณเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยการตรวจสอบเขื่อน จะดำเนินการโดย คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยของเขื่อน ซึ่งตรวจสอบและประเมินความปลอดภัยของเขื่อนโดยกำหนดให้เขื่อนที่สร้างแล้วเสร็จ มีอายุใช้งานไม่เกิน 2 ปี ต้องตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง ส่วนเขื่อนที่มีอายุใช้งานระหว่าง 2 ถึง 5 ปี ตรวจสอบปีละครั้งและเขื่อนที่มีอายุใช้งานกว่า 5 ปี ตรวจสอบทุกๆ 2 ปี โดยการตรวจสอบเขื่อนวชิราลงกรณได้ตรวจสอบใหญ่ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2553 สำหรับเขื่อนศรีนครินทร์ตรวจสอบครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2554
นายบุรินทร์ เวชบันเทิง ผอ.สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า หลังเกิดเหตุได้ตรวจสอบเครื่องมือวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นพบว่า หลังแผ่นดินไหวแล้วมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาหลังจากนั้น 10 นาที 1 ครั้งขนาด 5 ริคเตอร์ อย่างไรก็ตามแผ่นดินไหวแรงขนาดนี้คาดว่าน่าจะมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกนับ 100 ครั้ง ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่แต่ไม่เกินครั้งแรกคือ 6.6 ริคเตอร์ จึงได้ให้จังหวัดต่างๆที่อยู่ในแนวใกล้เคียงแผ่นดินไหวเฝ้าระวังตลอด 24 ชม. เนื่องจากล่าสุดได้รับรายงานว่า จ.แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ อุตรดิตถ์รวมถึงในกรุงเทพฯ ประชาชนในอาคารสูงรับรู้ความสั่นไหวได้ชัดเจนมาก ถึงขนาดตึกโยก และบางจุด เช่น ในถนนวิภาวดีรังสิต สุขุมวิท เอกมัย ทองหล่อ อุปกรณ์ในอาคาร เช่น โคมไฟ ร่วงหล่นตกแตก เหตุที่อาคารในกรุงเทพฯ สั่นไหวมากกว่าทางภาคเหนือซึ่งใกล้กับพม่ามากกว่า เพราะอาคารในกรุงเทพฯ อยู่บนดินอ่อน และมีคาบอยู่ในแนวเปลือกโลกร่องเดียวกับพม่า เมื่อเกิดความสั่นไหว จึงสั่นสะเทือนรุนแรงมากกว่าหลายเท่า ประกอบกับมีอาคารสูงมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกจนเกินไป แม้ขณะนี้จะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทั้งในและนอกประเทศติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจริงๆ แล้วเกิดแผ่นดินไหวทุกวัน แต่ที่มีรายงานออกมาก็เฉพาะจุดที่เกิดผลกระทบและรับรู้ความสั่นไหวได้
นายบุรินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับประเทศไทย คนไทยต้องทำใจให้อยู่กับแผ่นดินไหวให้ได้ เพราะในไทยมีรอยเลื่อนที่ทรงพลังถึง 14 จุด และมีรอยแขนงอีกนับพันจุดทั่วประเทศ จึงต้องเกิดแผ่นดินไหว แต่จากสถิติแผ่นดินไหวในไทยไม่เกิน 6.6 ริคเตอร์ เพราะเราไม่ได้อยู่ในจุดเสี่ยงวิกฤติเหมือนญี่ปุ่น อินโดนีเซียและกัวเตมาลา ที่อยู่ในแนววงแหวนไฟ ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ ยกเว้น แถวทะเลอันดามันและจังหวัดในภาคใต้ที่อยู่ในแนววงแหวนไฟ อาจเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในจ.ภูเก็ต
นายบุรินทร์ กล่าวอีกว่า เมื่อปี 2540 ได้มีการแก้ไขกฎหมายให้อาคารขนาดใหญ่ก่อสร้างเพื่อรับแรงสั่นไหวได้มากขึ้นใน 7 จังหวัด เช่น จ.เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ต่อมาในปี 2550 ได้เพิ่มกรุงเทพฯ และอีก 7 จังหวัดในภาคใต้ให้เพิ่มความระมัดระวังเรื่องแผ่นดินไหว ส่วนอาคารที่สร้างก่อนหน้านี้ได้ขอความร่วมมือเจ้าของอาคารเพิ่มมาตรการเสริมสร้างความปลอดภัยจากเหตุแผ่นดินไหว ส่วนข้อปฏิบัติสำหรับประชาชนหากเกิดแผ่นดินไหว ต้องรีบออกจากอาคารทันที ห้ามใช้ลิฟต์เด็ดขาด หาที่โล่ง ไม่อยู่ใต้สิ่งกำบัง เพื่อป้องกันการกระแทกและสิ่งของร่วงหล่นตกใส่.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น